เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา หลายประเทศในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยของเรา เผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อนจัดจนอุณหภูมิในหลายพื้นที่พุ่งสูงเกือบ 45 องศาเซลเซียส จนบางคนระบุว่าไม่เคยเผชิญกับอากาศที่ร้อนจัดเช่นนี้มาก่อน

ทั้งนี้ล่าสุด Copernicus Climate Change Service (C3S) หรือหน่วยงานติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรปเปิดเผยรายงานชุดใหม่ที่ยืนยันแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทำให้โลกเผชิญกับสภาพอากาศสุดขั้วในเดือนเมษายน

โดยสภาพอากาศสุดขั้วนี้ รวมถึงคลื่นความร้อนในเขตซาเฮล ซึ่งเป็นเขตรอยต่อบริเวณกึ่งทะเลทราย บริเวณทะเลทรายสะฮาราซาฮาราที่แบ่งทวีปแอฟริกาเป็นเหนือและใต้ กินพื้นที่ยาวตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตกไปจนจรดมหาสมุทรอินเดียทางตะวันออก และเชื่อมโยงกับการเสียชีวิตของผู้คนหลายพันคน

นอกจากนี้ สภาพอากาศสุดขั้วยังทำให้เกิดคลื่นความร้อนที่ส่งผลกระทบต่อหลายประเทศในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐบาลฟิลิปปินส์ และกัมพูชา เพื่อนบ้านร่วมภูมิภาคของเรา ได้เลือกที่จะปิดโรงเรียน เพื่อปกป้องสุขภาพของนักเรียน ขณะที่ในอินเดีย และบังกลาเทศ ซึ่งอยู่ถัดออกไปทางตะวันตกของเรา ก็เผชิญสภาพอากาศที่ร้อนจัดจนเป็นอันตรายต่อชีวิตของประชาชน

รายงานของหน่วยงานติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรป ระบุด้วยว่า ในช่วง 1 ปี ซึ่งนับเดือนสุดท้ายในเดือนเมษายนที่ผ่านมา อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยอุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงระหว่างปี 1850-1900 ซึ่งเป็นช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมถึง 1.61 องศาเซลเซียส

นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศของโคเปอร์นิคัสระบุว่า จากการรวบรวมข้อมูลทำให้เห็นว่าเดือนเมษายนเป็นเดือนที่ทั่วโลกร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์

นอกจากอุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นแล้ว รายงานของโคเปอร์นิคัสยังระบุด้วยว่า อุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทรก็พุ่งสูงถึง 21.04 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงของเดือนเมษายน และต่ำกว่าสถิติโดยรวมในเดือนมีนาคมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ส่วนสาเหตุหลักที่ทำให้อุณหภูมิความร้อนเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล และปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่ทำให้น้ำผิวดินในมหาสมุทรตะวันออกอุ่นขึ้น เป็นปัจจัยผลักดันที่ทำให้อุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นเช่นเดียวกัน

นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศของโคเปอร์นิคัสระบุว่า แม้ว่าขณะนี้ปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังอ่อนแรงลง แต่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลทั่วโลกยังคงสูงอยู่ ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากได้ตั้งคำถามว่า นี่อาจมาจากการเปลี่ยนแปลงในระบบภูมิอากาศหรือไม่ ซึ่งนี่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศกำลังพยายามหาคำตอบ เพื่อเข้าใจระบบภูมิอากาศที่แท้จริง

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ประเทศต่างๆ เห็นพ้องต้องกันในการเจรจาเรื่องสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติในกรุงปารีสเมื่อปี 2015 เพื่อรักษาภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และตั้งเป้าที่จะจำกัดอุณหภูมิไว้ที่ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นระดับที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการป้องกันผลกระทบร้ายแรงที่สุดจากภาวะโลกร้อน เช่น ความร้อนรุนแรง น้ำท่วม และการสูญเสียของระบบนิเวศอย่างถาวร

อย่างไรก็ตามในทางเทคนิคแล้ว อุณหภูมิเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ในช่วง 12 เดือนแรกไม่ได้หมายความว่าพลาดเป้าหมายปารีส เนื่องจากข้อตกลงของสหประชาชาติได้ระบุถึงอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกตลอดหลายทศวรรษ

ขณะที่นักวิทยาศาสตร์บางคนกล่าวว่าเป้าหมาย 1.5 องศาเซลเซียสไม่สามารถบรรลุตามความเป็นจริงได้อีกต่อไป และเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการเร็วขึ้นในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อจำกัดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกินเป้าหมาย

อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการดำเนินการใดๆ เกิดขึ้น เหล่านักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศชั้นนำกว่าร้อยละ 80 หรือหลายร้อยคนที่ตอบแบบสำรวจของสำนักข่าวเดอะการ์เดียน คาดการณ์ว่า อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นอย่างน้อย 2.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับก่อนยุคอุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษนี้ และเกือบครึ่งหนึ่งคาดการณ์ว่าอุณหภูมิจะสูงอย่างน้อย 3 องศาเซลเซียส

ส่วนสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์จินตนาการว่าจะเกิดขึ้นตามมาจากวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศ คือความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อมนุษยชาติและโลก ประชาชนจะอดอยาก เกิดความขัดแย้ง และการอพยพย้ายถิ่นฐานของผู้คน เพื่อหนีภัยพิบัติที่เกิดจากคลื่นความร้อน ไฟป่า น้ำท่วม และพายุรุนแรง

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพภูมิอากาศจำนวนมากระบุว่า พวกเขารู้สึกสิ้นหวัง โกรธเคือง และหวาดกลัวต่อความล้มเหลวของรัฐบาลในการดำเนินการเพื่อลดโลกร้อน ดังนั้นพวกเขาย้ำว่า การต่อสู้กับสภาพอากาศจะต้องดำเนินต่อไป ไม่ว่าอุณหภูมิโลกจะสูงแค่ไหนก็ตาม เพราะทุกๆ วินาทีที่ดำเนินการจะช่วยลดความทุกข์ทรมานของมนุษย์ได้

สภาพอากาศสุดขั้วยังคงดำเนินต่อไป เห็นได้จากหลายประเทศ ณ ตอนนี้กำลังเผชิญกับสภาพอากาศเลวร้าย อย่างที่ประเทศบราซิล เผชิญน้ำท่วมครั้งใหญ่จนทำให้ทั้งคน และสัตว์ได้รับผลกระทบไปตามๆกัน

ทั้งนี้ปรากฏภาพของบรรดาสุนัขจำนวนมากที่ติดอยู่บนอาคารแห่งหนึ่งที่ล้อมรอบด้วยน้ำที่ท่วมสูงในรัฐริโอ กรันดี โด ซูล (Rio Grande do Sul) ซึ่งอยู่ทางใต้สุดของบราซิล เจ้าหน้าที่กู้ภัยเล่าว่า พวกเขาได้เดินทางด้วยเรือเพื่อเข้าไปค้นหาเหยื่อน้ำท่วม ทำให้พบกับสุนัขราว 20 ตัวติดอยู่ด้านบนของอาคารที่มีทางเข้าซับซ้อน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าไม่มีสุนัขตัวใดขาดน้ำ หรืออยู่ในสภาพร่างกายอิดโรย แต่มีสุนัขตัวใหญ่ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่คอยปกป้องเพื่อนๆของมันเป็นอย่างดี

นอกจากสุนัขแล้ว เจ้าหน้าที่ยังพบม้าสีน้ำตาลตัวหนึ่งที่ยืนอยู่บนหลังคาของอาคารที่จมอยู่ใต้บาดาลด้วย ทั้งนี้ฝนที่ตกหนักตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ส่งผลทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำต่างๆ ทะลักเข้าท่วมถนนหนทางและสะพาน ส่วนพื้นที่เมืองส่วนใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐรีโอ กรันดี โด ซูล ต้องจมอยู่ใต้บาดาล

ล่าสุดทางการรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตแล้ว 100 ราย สูญหายอีก 128 ราย และประชาชนอีกมากกว่า 163,000 คนต้องกลายเป็นคนไร้ที่อยู่อาศัย ด้านศูนย์ภัยพิบัติทางธรรมชาติของบราซิลระบุว่า พื้นที่ทางตอนใต้ยังคงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดน้ำท่วมเพิ่มเติม และคาดการณ์ว่าฝนจะลดลงในวันนี้ ต่อเนื่องไปจนถึงสุดสัปดาห์คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ส่วนที่เมืองคาลามาซู รัฐมิชิแกนของสหรัฐฯ เผชิญกับพายุทอร์นาโดพัดถล่มอย่างรุนแรง นี่คือคลิปวิดีโอจากกล้องหน้าประตูหน้าที่บันทึกได้เมื่อวันอังคารที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พายุทอร์นาโดพัดต้นไม้หักโค่นล้มไปหลายต้น ขณะที่เจ้าของคลิปวิดีโอนี้เล่าว่า ขณะที่พายุเคลื่อนตัวผ่าน ครอบครัวของเขาต้องเข้าไปหลบภัยในห้องใต้ดินเพื่อความปลอดภัย

ทั้งนี้ช่วงคืนวันอังคารที่ผ่านมา หลายเทศมณฑลในรัฐมิชิแกนเผชิญกับทอร์นาโดรุนแรงพัดถล่ม 4 ลูก ขณะที่เกรทเชน วิทเมอร์ ผู้ว่าการรัฐมิชิแกนได้ประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อรับมือกับภัยพิบัติดังกล่าว

นอกจากรัฐมิชิแกนแล้ว มีรายงานว่าด้วยเมื่อวานนี้ พายุรุนแรงยังพัดถล่มในรัฐเทนเนสซี และพื้นที่อื่นๆ ทางตะวันออกเฉียงใต้ โดยจากเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 2 ราย

ส่วนที่เมืองหลวงของประเทศชิลี เผชิญกับหิมะตกหนักจนทำให้บ้านเมืองขาวโพลน ขณะที่ประชาชนตื่นขึ้นมาด้วยความประหลาดใจ เนื่องจากเดือนนี้เป็นช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่ไม่ควรมีหิมะตกรายงานจากสื่อท้องถิ่นระบุว่า หลายชุมชนในเมืองหลวงของชิลีเผชิญกับหิมะตกหนัก ขณะที่เจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ผู้คนในพื้นที่แต่งตัวให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ

สภาพอากาศที่แปรปรวนที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ ส่งผลทำให้ประชาชนราว 225,000 คนประสบกับปัญหาไฟฟ้าดับ ทั้งนี้ หิมะตกในเมืองหลวงของชิลีถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ แต่ไม่ใช่ว่าไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ย้อนกลับไปในเดือนกรกฎาคมปี 2020 ที่นั่นเผชิญกับหิมะตกทางตะวันออกของเมืองหลวง และในเดือนกรกฎาคมปี 2017 ก็เคยตกที่เมืองหลวงเช่นเดียวกัน และทำให้เกิดไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ส่วนของประเทศไทย มีรายงานว่า อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นในมหาสมุทร ส่งผลทำให้ปะการังในอ่าวโละบาเกาบนเกาะพีพีบางส่วน ได้ฟอกขาวตายและพบสาหร่ายขึ้นเคลือบจนกลายเป็นสีดำคล้ำ ด้าน ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล เตือนว่าหากน้ำทะเลยังร้อนต่อไปอีกไม่กี่วัน ปะการังที่เหลือทั้งหมดคงตายตามไปด้วย

สาเหตุที่นักวิทยาศาสตร์ออกมาแสดงความเห็นเช่นนี้ เป็นเพราะปะการังมีความสำคัญต่อท้องทะเล และเป็นเสมือนปราการใต้ท้องทะเล นักวิทยาศาสตร์บางคนเปรียบเทียบว่า ปะการังเหมือนป่าเขตร้อน เพราะเป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญที่สุดในทะเล

โดยงานวิจัยระยะหลังเริ่มชี้ให้เห็นชัดว่า ปะการังช่วยชะลอคลื่น สลายพลังคลื่นที่ซัดเข้าฝั่งได้กว่าร้อยละ 90 และพื้นที่ที่มีปะการังเสื่อมโทรมมีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งมากขึ้น นอกจากนี้ มหาสมุทรถือเป็นจุดดูดซับความร้อนที่เกิดขึ้นร้อยละ 90

ดังนั้นปะการังเหล่านี้ก็เป็น carbon sink ประเภทหนึ่ง ซึ่งการคงอยู่ และการเติบโตของปะการังจะช่วยกักเก็บคาร์บอนไว้ในระบบนิเวศด้วย ซึ่งนอกจากปะการังจะเป็นตัวช่วยเรื่องคลื่น และกักเก็บคาร์บอนแล้ว ยังส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ดังนั้นหากปะการังตาย ก็จะส่งผลกระทบต่อมนุษย์ และโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

By admin